Return to Video

ชอน คาร์โรลล์ (Sean Carroll): อดีตกาลแห่งกาลเวลาสู่การค้นหา "พหุภพ"

  • 0:00 - 0:02
    เอกภพ
  • 0:02 - 0:04
    เป็นอะไรที่กว้างใหญ่ไพศาลจริงๆครับ
  • 0:04 - 0:07
    เราอยู่ในดาราจักรที่ชื่อว่า ทางช้างเผือก
  • 0:07 - 0:10
    มีดวงดาวนับแสนล้านดวงอยู่ในทางช้างเผือก
  • 0:10 - 0:12
    และถ้าคุณเอากล้องถ่ายรูป
  • 0:12 - 0:14
    เล็งไปตรงไหนของท้องฟ้าก็ได้
  • 0:14 - 0:16
    แล้วปล่อยช่องรับแสงของกล้องเปิดรับแสงไว้อย่างนั้น
  • 0:16 - 0:19
    ตราบใดที่กล้องของคุณเชื่อมติดอยู่กับกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble) ด้วยละก็
  • 0:19 - 0:21
    กล้องก็จะจับภาพได้เป็นแบบนี้ครับ
  • 0:21 - 0:24
    ก้อนกลมๆเบลอๆเล็กๆพวกนี้ แต่ละอัน
  • 0:24 - 0:26
    คือดาราจักรที่ใหญ่พอๆกับทางช้างเผือกของเรานะครับนี่
  • 0:26 - 0:29
    แต่ละดาราจักร มีดาวเป็นแสนล้านดวงเหมือนกัน
  • 0:29 - 0:32
    แล้วก็มีกันร่วมแสนล้านดาราจักร
  • 0:32 - 0:34
    ที่ค้นพบได้ในเอกภพนี้ครับ
  • 0:34 - 0:36
    เอาเป็นว่า รู้แค่เลขแสนล้านตัวเดียว แค่นั้นก็เกินพอครับ
  • 0:36 - 0:39
    อายุของเอกภพ ถ้านับตั้งแต่ปรากฎการณ์บิ๊กแบง มาจนถึงตอนนี้
  • 0:39 - 0:41
    ก็แสนล้านปี ในหน่วยปีแบบหมานะครับ (หนึ่งปีของคน = หลายปีของหมา)
  • 0:41 - 0:43
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:43 - 0:46
    ซึ่งมันก็บอกอะไรบางอย่าง ถึงที่ของเราในเอกภพแห่งนี้
  • 0:46 - 0:48
    รูปถ่ายแบบนี้ เราสามารถเอาไปใช้ง่ายๆได้อย่างหนึ่งครับ ก็คือเอาไว้ชื่มชม
  • 0:48 - 0:50
    ช่างสวยงามตระการตาเหลือเกิน
  • 0:50 - 0:53
    ผมสงสัยอยู่บ่อยๆครับว่า อะไรนะที่เป็นแรงผลักทางวิวัฒนาการ
  • 0:53 - 0:56
    ที่ก่อให้เกิดบรรพบุรุษของพวกเราขึ้นมาในทุ่งหญ้าเวลด์ท์(Veldt ในทวีปอัฟริกา)แล้ววิวัฒนาการ
  • 0:56 - 0:58
    จนได้มาเพลิศเพลินอยู่กับรูปถ่ายกลุ่มดาราจักรพวกนี้
  • 0:58 - 1:00
    ในเมื่อตอนนั้นพวกเขาไม่มีรูปแบบนี้สักกะรูป
  • 1:00 - 1:02
    พวกเราเองก็เถอะ เราก็อยากจะเข้าใจเรื่องของเอกภพ
  • 1:02 - 1:06
    ในฐานะนักจักรวาลวิทยา ผมก็อยากจะรู้ว่าทำไมเอกภพจึงออกมาเป็นแบบนี้
  • 1:06 - 1:09
    เบาะแสสำคัญที่จะทำให้เราได้คำตอบก็คือ เอกภพนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
  • 1:09 - 1:12
    ถ้าคุณดูที่ดาราจักรพวกนี้สักอันนึง แล้ววัดความเร็ว
  • 1:12 - 1:14
    มันก็จะเคลื่อนที่ห่างออกจากคุณไปเรื่อยๆ
  • 1:14 - 1:16
    แล้วถ้าคุณดูที่ดาราจักรอันที่อยู่ไกลออกไปอีก
  • 1:16 - 1:18
    มันก็ยิ่งจะเคลื่อนที่ห่างออกไปเร็วเข้าไปอีก
  • 1:18 - 1:20
    นั่นก็แปลว่า เอกภพมีการขยายตัวครับ
  • 1:20 - 1:22
    หมายความว่าอย่างนี้ครับ ในอดีตกาล
  • 1:22 - 1:24
    ทุกอย่างอยู่ใกล้ๆรวมกันหมด
  • 1:24 - 1:26
    ในอดีต เอกภพอัดตัวแน่นกว่าตอนนี้ครับ
  • 1:26 - 1:28
    แล้วก็ร้อนกว่าด้วย
  • 1:28 - 1:30
    ถ้าอัดอะไรเข้าด้วยกันแน่นๆ อุณหภูมิก็จะสูงขึ้นครับ
  • 1:30 - 1:32
    ซึ่งก็ดูสมเหตุสมผลดี
  • 1:32 - 1:34
    แต่ว่ามีอยู่อย่างที่ดูจะไม่สมเหตุสมผลเท่าไหร่เลย
  • 1:34 - 1:37
    ก็คือว่า เอกภพสมัยก่อนนู้น หลังจากที่เกิดบิ๊กแบงไม่เท่าไหร่
  • 1:37 - 1:39
    มันราบเรียบเสมอกันไปหมดหน่ะสิครับ
  • 1:39 - 1:41
    คุณอาจจะไม่รู้สึกแปลกใจอะไร
  • 1:41 - 1:43
    ก็อย่างอากาศในห้องนี้ ก็ราบเรียบสม่ำเสมอ
  • 1:43 - 1:46
    คุณอาจจะบอกว่า "ก็มันก็คงเรียบอย่างนั้นของมัน"
  • 1:46 - 1:49
    แต่ว่าสภาพใกล้ๆบิ๊กแบงมันต่างไปจาก
  • 1:49 - 1:51
    สภาพอากาศในห้องนี้เยอะมากนะครับ
  • 1:51 - 1:53
    ส่วนหนึ่งก็คือทุกอย่างอัดตัวแน่นกว่ามาก
  • 1:53 - 1:55
    แรงดึงดูดที่ดึงทุกอย่างเข้าไว้ด้วยกัน
  • 1:55 - 1:57
    นั้นแรงกว่ามาก ในช่วงที่ใกล้ปรากฎการณ์บิ๊กแบง
  • 1:57 - 1:59
    ก็ลองคิดดูว่า
  • 1:59 - 2:01
    เรามีเอกภพที่มีถึงแสนล้านดาราจักร
  • 2:01 - 2:03
    แต่ละดาราจักร ก็มีดาวอีกแสนล้านดวง
  • 2:03 - 2:06
    ในตอนนั้น ดาราจักรทั้งแสนล้านอัน
  • 2:06 - 2:09
    ถูกบีบให้มีขนาดเท่าเนี่ย
  • 2:09 - 2:11
    เท่านี้จริงๆครับ ตอนช่วงนั้น
  • 2:11 - 2:13
    แล้วคุณก็ต้องคิดดูด้วยนะ ว่าการบีบอัด
  • 2:13 - 2:15
    ที่ไร้ที่ติ
  • 2:15 - 2:17
    ไม่มีแม้กระทั่งจุดเล็กจิ๋ว
  • 2:17 - 2:19
    ที่มีอะตอมมากกว่าจุดอื่นสักแค่สองสามอะตอม ก็ไม่มี
  • 2:19 - 2:22
    เราถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ดาราจักรก็คงพังทลาย ด้วยผลจากแรงดึงดูด
  • 2:22 - 2:24
    แล้วกลายเป็นหลุมดำขนาดใหญ่
  • 2:24 - 2:27
    การที่จะทำให้เอกภพเรียบเสมอกันในช่วงเริ่มแรกนั้น
  • 2:27 - 2:29
    ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ และเป็นการจัดการที่ละเอียดอ่อนมาก
  • 2:29 - 2:31
    ซึ่งก็บอกเราเป็นนัย
  • 2:31 - 2:33
    ว่าเอกภพในยุคแรกไม่ได้ถูกเลือกมาแบบสุ่มๆ
  • 2:33 - 2:35
    แต่มีอะไรบางอย่างทำให้มันเป็นแบบนี้
  • 2:35 - 2:37
    แล้วทีนี้เราก็อยากรู้ว่า อะไรบางอย่างที่ว่า คืออะไรหล่ะ
  • 2:37 - 2:40
    ความเข้าใจแนวคิดนี้ ส่วนหนึ่งมาจากลุดหวิก โบล์ท์สมัน (Ludwid Boltzmann)
  • 2:40 - 2:43
    นักฟิสิกส์ชาวออสเตรียที่มีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 19 ครับ
  • 2:43 - 2:46
    โบล์ท์สมันมีส่วนทำให้เราเข้าใจเอ็นโทรปี
  • 2:46 - 2:48
    คุณคงเคยได้ยินคำว่า 'เอ็นโทรปี' มาบ้างแล้ว
  • 2:48 - 2:51
    มันก็คือ ความไม่มีแบบแผน ความไร้ระเบียบ ความยุ่งเหยิงของระบบ
  • 2:51 - 2:53
    โบล์ท์สมันให้สมการกับเราครับ
  • 2:53 - 2:55
    ซึ่งในปัจจุบัน สลักไว้ที่หินเหนือหลุมฝังศพเขาด้วย
  • 2:55 - 2:57
    สมการนี้ช่วยให้เราวัดปริมาณเอ็นโทรปีได้จริง
  • 2:57 - 2:59
    สมการนี้บอกไว้ง่ายๆ ว่าอย่างนี้
  • 2:59 - 3:01
    เอ็นโทรปี คือ จำนวนวิธี
  • 3:01 - 3:04
    ที่เราสามารถใช้ในการจัดเรียงองค์ประกอบของระบบได้โดยที่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
  • 3:04 - 3:06
    ดังนั้นในระดับองค์รวมขนาดใหญ่ มันก็ดูเหมือนเดิม
  • 3:06 - 3:08
    ถ้าเรามีอากาศอยู่ในห้องนี้
  • 3:08 - 3:11
    คุณก็จะไม่สังเกต อะตอมทุกๆอะตอม
  • 3:11 - 3:13
    การจัดเรียงที่มีเอ็นโทรปีต่ำ
  • 3:13 - 3:15
    คือมันมีวิธีจัดเรียงแค่ไม่กี่วิธีที่ภาพในองค์รวมยังจะดูเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
  • 3:15 - 3:17
    การจัดเรียงที่มีเอ็นโทรปีสูง
  • 3:17 - 3:19
    ก็การที่มีวิธีจัดเรียงมากมายหลายหลากที่ยังไงๆภาพในองค์รวมก็จะไม่เปลี่ยน
  • 3:19 - 3:21
    นี่ถือเป็นความเข้าใจที่เฉียบแหลมลึกซึ้งซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดเลยนะครับ
  • 3:21 - 3:23
    เพราะทำให้เราสามารถอธิบาย
  • 3:23 - 3:25
    กฏข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์ได้ (thermodynamics)
  • 3:25 - 3:28
    กฏที่ว่านี้ บอกว่า เอ็นโทรปีจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในเอกภพนี้
  • 3:28 - 3:30
    หรือแม้แต่ส่วนเล็กย่อยของเอกภพด้วย
  • 3:30 - 3:32
    สาเหตุว่าทำไมเอ็นโทรปีถึงเพิ่มขึ้น
  • 3:32 - 3:35
    ง่ายๆ ก็คือ เพราะว่าจะมีหลากหลายวิธีกว่า
  • 3:35 - 3:37
    ที่จะอยู่ในสถานะเอ็นโทรปีสูง มากกว่าที่จะไปเป็นเอ็นโทรปีต่ำ
  • 3:37 - 3:39
    นี่เป็นแง่มุมที่ยอดเยี่ยมเฉียบแหลมมากครับ
  • 3:39 - 3:41
    แต่ว่ามันก็ยังทิ้งช่องโหว่ไว้
  • 3:41 - 3:43
    เอ้อ เรื่องเบื้องลึกเบื้องหลังที่ว่าเอ็นโทรปีจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  • 3:43 - 3:46
    เป็นที่มาที่ไปของสิ่งที่พวกเราเรียกว่า "ลูกศรแห่งกาลเวลา" นะครับ
  • 3:46 - 3:48
    คือความแตกต่างระหว่างเวลาแห่งอดีตกับเวลาแห่งอนาคต
  • 3:48 - 3:50
    ทุกๆความต่างที่มีอยู่
  • 3:50 - 3:52
    ระหว่าง เวลาหนึ่งที่เราเรียกว่า 'อดีต' กับ อีกเวลาหนึ่งที่เราเรียกว่า 'อนาคต'
  • 3:52 - 3:54
    มันมีได้ก็เพราะว่าเอ็นโทรปีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆนี่แหละครับ
  • 3:54 - 3:57
    ความเป็นจริงที่ว่า คุณสามารถจำอดีตได้ แต่จำอนาคตไม่ได้
  • 3:57 - 4:00
    ความเป็นจริงที่ว่า คุณเกิด คุณใช้ชีวิต แล้วคุณถึงจะค่อยตาย
  • 4:00 - 4:02
    เป็นไปตามลำดับแบบนี้เสมอ
  • 4:02 - 4:04
    นั่นก็เพราะว่า เอ็นโทรปีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ครับ
  • 4:04 - 4:06
    โบล์ท์สมันอธิบายไว้ว่าถ้าคุณเริ่มจากสภาพที่เอ็นโทรปีต่ำ
  • 4:06 - 4:08
    มันเป็นไปตามธรรมชาติเลยครับว่า เอ็นโทรปีจะต้องเพิ่มขึ้น
  • 4:08 - 4:11
    เพราะว่ามันมีวิธีที่จะเป็นอยู่ในสภาพที่มีเอ็นโทรปีสูง มากมายกว่านั่นเอง
  • 4:11 - 4:13
    แต่สิ่งที่เขาไม่ได้อธิบาย
  • 4:13 - 4:16
    ก็คือว่า ทำไมเอ็นโทรปีจึงต่ำมาตั้งแต่แรก
  • 4:16 - 4:18
    ความเป็นจริงที่ว่า เอ็นโทรปีของเอกภพมีค่าต่ำ
  • 4:18 - 4:20
    เป็นสิ่งที่สะท้อนความจริง
  • 4:20 - 4:22
    ว่า เอกภพในยุคเริ่มต้นในเรียบเสมอกันมากๆ
  • 4:22 - 4:24
    เราอยากจะทำความเข้าใจกับเรื่องพวกนี้
  • 4:24 - 4:26
    ก็นั่นเป็นหน้าที่ในฐานะของนักจักรวาลวิทยาครับ
  • 4:26 - 4:28
    แต่โชคร้ายไปหน่อยที่เรื่องพวกนี้ไม่ใช่ประเด็นปัญหา
  • 4:28 - 4:30
    ที่พวกเราให้ความใส่ใจมากพอ
  • 4:30 - 4:32
    ไม่ใช่สิ่งแรกๆที่ใครๆจะพูดถึง
  • 4:32 - 4:34
    ถ้าคุณถามนักจักรวาลวิทยาสมัยใหม่ว่า
  • 4:34 - 4:36
    "ประเด็นปัญหาอะไรที่เราจะกำลังสนใจอยู่ในขณะนี้"
  • 4:36 - 4:38
    บุคคลคนหนึ่งที่เข้าใจว่านี่คือประเด็นปัญหา
  • 4:38 - 4:40
    คือ ริชาร์ด ฟายน์มัน (Richard Feynman)
  • 4:40 - 4:42
    ห้าสิบปีก่อน เขาเคยกล่าวบรรยายมากมายหลากหลายหัวข้อ
  • 4:42 - 4:44
    เขาได้ให้การบรรยายที่เป็นที่นิยม
  • 4:44 - 4:46
    ซึ่งได้กลายเป็นชุดบรรยาย "คุณลักษณะของกฏฟิิสิกส์ (The Character of Physical Law)"
  • 4:46 - 4:48
    การบรรยายในชั่วโมงสอนระดับปริญญาตรีที่คาลเทค (California Institute of Technology: Caltech)
  • 4:48 - 4:50
    ได้กลายเป็นชุดบรรยาย "การบรรยายวิชาฟิสิกส์ของฟายน์มัน (The Feynman Lectures on Physics)"
  • 4:50 - 4:52
    การบรรยายในชั่วโมงสอนระดับปริญญาโท/เอกที่คาลเทค
  • 4:52 - 4:54
    ได้กลายเป็นชุดบรรยาย "การบรรยายเรื่อง แรงดึงดูด ของฟายน์มัน (The Feyman Lectures on Gravitation)"
  • 4:54 - 4:57
    ในหนังสือของเขาทุกเล่ม ชุดบรรยายของเขาทุกชุด
  • 4:57 - 4:59
    เขาจะเน้นปริศนาข้อนี้:
  • 4:59 - 5:02
    ทำไมเอกภพในยุคต้นถึงจะต้องมีเอ็นโทรปีต่ำด้วย
  • 5:02 - 5:04
    เขาพูดว่า -- ผมจะไม่พูดตามสำเนียงเขานะ --
  • 5:04 - 5:07
    เขาพูดว่า "ด้วยเหตุผลอะไรบางอย่าง ครั้งหนึ่งเอกภพ
  • 5:07 - 5:10
    เคยมีเอ็นโทรปีที่ต่ำมากสำหรับส่วนประกอบทางพลังงานของมัน
  • 5:10 - 5:12
    และตั้งแต่นั้นมา เอ็นโทรปีก็ได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  • 5:12 - 5:15
    เราไม่มีทางจะเข้าใจ 'ลูกศรแห่งกาลเวลา' ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
  • 5:15 - 5:18
    จนกว่าความลี้ลับของจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์เอกภพ
  • 5:18 - 5:20
    จะถูกลดทอนลงไปเรื่อยๆจนกระทั่ง
  • 5:20 - 5:22
    การคาดคะเนได้กลายเป็นความเข้าใจแล้วเท่านั้น"
  • 5:22 - 5:24
    นั่นแหละคืองานของพวกเรา
  • 5:24 - 5:26
    เราอยากรู้ -- และนี่มันก็ 50 ปีผ่านมาแล้ว คุณกำลังคิดหล่ะสิว่า "แน่นอนหล่ะ"
  • 5:26 - 5:28
    "มาป่านนี้แล้ว พวกเราก็รู้คำตอบแล้วสิ"
  • 5:28 - 5:30
    ไม่จริงเลยนะครับที่ว่าเราคิดว่ารู้คำตอบแล้วหน่ะ
  • 5:30 - 5:32
    เพราะว่าตอนนี้ ประเด็นปัญหานี้ยิ่งสลับซับซ้อนเข้าไปอีก
  • 5:32 - 5:34
    แทนที่ว่าจะง่ายดายขึ้น
  • 5:34 - 5:36
    ก็เพราะว่าในปี ค.ศ. 1998
  • 5:36 - 5:39
    เราค้นพบอะไรที่บางอย่างที่สำคัญมากเกี่ยวกับเอกภพ ซึ่งเราไม่เคยรู้มาก่อนครับ
  • 5:39 - 5:41
    เราค้นพบว่า มันขยายตัวด้วยอัตราเร่ง ครับ
  • 5:41 - 5:43
    เอกภพไม่ได้แค่ขยายตัวเฉยๆเสียแล้ว
  • 5:43 - 5:45
    ถ้าคุณดูที่ดาราจักรแล้วเห็นว่ามันเคลื่อนที่ห่างออกไป
  • 5:45 - 5:47
    พอผ่านไปพันล้านปี คุณกลับมาดูอีกหน
  • 5:47 - 5:50
    มันจะยิ่งเคลื่อนที่ห่างออกไปเร็วยิ่งขึ้นไปอีก
  • 5:50 - 5:53
    ดาราจักรแต่ละอันเคลื่อนที่ห่างออกจากกันเร็วขึ้นๆ
  • 5:53 - 5:55
    งั้น สรุปกันสั้นๆก่อนว่า เอกภพขยายตัวในอัตราเร่ง
  • 5:55 - 5:57
    กรณีนี้จะต่างจากกรณีเอ็นโทรปีต่ำในยุคเริ่มเอกภพตรงที่
  • 5:57 - 5:59
    ถึงเราจะยังไม่รู้คำตอบ
  • 5:59 - 6:01
    แต่อย่างน้อยเราก็มีทฤษฎีที่จะใช้อธิบายได้
  • 6:01 - 6:03
    ถ้าทฤษฎีถูกต้องอะนะครับ
  • 6:03 - 6:05
    ทฤษฎีที่ว่าคือ ทฤษฎีพลังงานมืด (dark energy)
  • 6:05 - 6:08
    ซึ่งก็เป็นแนวคิดว่า พื้นที่ว่างเปล่าในอวกาศจริงๆแล้วมีพลังงานอยู่
  • 6:08 - 6:11
    ทุกๆลูกบาศก์เซนติเมตรเล็กๆของอวกาศ
  • 6:11 - 6:13
    ไม่ว่าจะมีอะไรอยู่หรือไม่ก็ตาม
  • 6:13 - 6:15
    ไม่ว่าจะเป็นอนุภาค สสาร รังสี หรืออะไรก็แล้วแต่
  • 6:15 - 6:18
    มีพลังงานอยู่ทั้งนี้ แม้แต่อวกาศเองก็มีพลังงานอยู่
  • 6:18 - 6:20
    และถ้าว่าตามไอน์สไตน์ พลังงานนี้
  • 6:20 - 6:23
    ทำให้มีแรงผลักให้เอกภพขยายตัว
  • 6:23 - 6:25
    เป็นแรงกระตุ้นที่ไม่มีวันสิ้นสุด
  • 6:25 - 6:27
    ที่ผลักดาราจักรให้ห่างออกจากกัน
  • 6:27 - 6:30
    เพราะพลังงานมืด ซึ่งต่างจากสสารหรือรังสี
  • 6:30 - 6:33
    จะไม่เจื่อจางหายไปกับการขยายตัวของเอกภพ
  • 6:33 - 6:35
    ปริมาณของพลังงานในแต่ละลูกบาศก์เซ็นติเมตร
  • 6:35 - 6:37
    มีเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
  • 6:37 - 6:39
    ถึงแม้ว่าเอกภพจะขยายใหญ่ขึ้นๆ
  • 6:39 - 6:42
    นี่เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะบอกได้ว่า
  • 6:42 - 6:45
    เอกภพจะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต
  • 6:45 - 6:47
    อย่างหนึ่งเลยก็คือว่า เอกภพจะขยายตัวไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด
  • 6:47 - 6:49
    ย้อนกลับไปเมื่อผมอายุเท่าๆพวกคุณ
  • 6:49 - 6:51
    เราไม่รู้เลยว่าเอกภพจะเป็นยังไงต่อไป
  • 6:51 - 6:54
    บางคนถึงกับคิดว่าในอนาคต เอกภพจะสูญสลาย
  • 6:54 - 6:56
    ไอสไตน์ชอบใจแนวคิดนี้มาก
  • 6:56 - 6:59
    แต่ว่าถ้ามีพลังงานมืดแล้วมันไม่สูญสลายหายไปไหน
  • 6:59 - 7:02
    เอกภพก็จะขยายตัวไปเรื่อยๆ เป็นอย่างนั้นไปชั่วอนันตกาล
  • 7:02 - 7:04
    ตั้งแต่เมื่อหมื่นสี่พันล้านปีก่อน
  • 7:04 - 7:06
    หรือแสนล้านปีของหมานั่นแหละครับ
  • 7:06 - 7:09
    ไปอีกนานเท่านานตราบชั่วนิรันดร์กาล
  • 7:09 - 7:12
    แต่ในตอนนี้ ทั้งในทางปฏิบัติและทฤษฎี
  • 7:12 - 7:14
    เราก็จะเห็นว่าอวกาศมีที่สิ้นสุด
  • 7:14 - 7:16
    อวกาศอาจจะมีหรือไม่มีที่สิ้นสุดก็เป็นได้
  • 7:16 - 7:18
    แต่เพราะว่าเอกภพขยายตัวเร็วๆทุกขณะ
  • 7:18 - 7:20
    ถึงจะมีส่วนหนึ่งที่ยังไงเรามองไม่เห็น
  • 7:20 - 7:22
    แล้วก็จะไม่มีทางมองเห็นเลยด้วย
  • 7:22 - 7:24
    แต่มันก็มีจุดที่สิ้นสุด ที่เราจะเข้าถึงได้
  • 7:24 - 7:26
    เป็นส่วนที่อยู่ภายในเส้นขอบจักรวาลครับ
  • 7:26 - 7:28
    ถึงแม้ว่ากาลเวลาจะดำเนินไปชั่วนิรันดร์
  • 7:28 - 7:30
    แต่สำหรับพวกเราแล้ว อวกาศมีที่สิ้นสุดครับ
  • 7:30 - 7:33
    อย่างสุดท้ายก็คือ แม้แต่ที่ว่างเปล่าในอวกาศก็ยังมีอุณหภูมิความร้อนหนาว
  • 7:33 - 7:35
    ในช่วงคริสตทศวรรษ 1970 สตีเฟน ฮอว์กิ้ง (Stephen Hawking) บอกว่า
  • 7:35 - 7:37
    หลุมดำที่เราคิดกันว่ามืดสนิทนั้น
  • 7:37 - 7:39
    จริงๆแล้วมันฉายรังสีออกมาด้วย
  • 7:39 - 7:41
    เมื่อเรานำทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัมเข้ามาใช้อธิบาย
  • 7:41 - 7:44
    ความเว้าโค้งของ กาล-อวกาศ (space-time) รอบๆหลุมดำ
  • 7:44 - 7:47
    ก่อให้เกิดความผันผวนปรวนแปรในเชิงกลศาสตร์ควอนตัม
  • 7:47 - 7:49
    หลุมดำจึงฉายรังสีออกมา
  • 7:49 - 7:52
    ฮอว์กิ้ง และ แกรี่ กิบบอนส์ (Gary Gibbons) ได้ทำการคำนวณออกมาได้ผลคล้ายๆกันครับ
  • 7:52 - 7:55
    ซึ่งแสดงว่า มีพลังงานมืดอยู่ในพื้นที่ว่างเปล่าของอวกาศ
  • 7:55 - 7:58
    และเอกภพก็ฉายรังสีออกมาโดยทั่ว
  • 7:58 - 8:00
    พลังงานในพื้นที่ว่างเปล่าของอวกาศ
  • 8:00 - 8:02
    ทำให้เกิดความผันผวนปรวนแปรของควอนตัม
  • 8:02 - 8:04
    และ ถึงแม้ว่าเอกภพจะมีอยู่ไปชั่วกาลนาน
  • 8:04 - 8:07
    และถึงแม้ว่า สสารและรังสีทั่วๆไปจะเลือนลางจากหายไปในที่สุด
  • 8:07 - 8:09
    แต่รังสีนั้น จะยังคงอยู่ไม่ไปไหน
  • 8:09 - 8:11
    และก็มีความผันผวนของความร้อนอยู่บ้าง
  • 8:11 - 8:13
    แม้แต่ที่อวกาศอันว่างเปล่า
  • 8:13 - 8:15
    ทั้งหมดเนี่ย ตีความได้ว่าอย่างนี้ครับ
  • 8:15 - 8:17
    ว่าเอกภพก็เหมือนกับกล่องบรรจุก๊าซ
  • 8:17 - 8:19
    ที่จะมีอยู่อย่างนั้นต่อไปตลอดกาล
  • 8:19 - 8:21
    อืม..ถ้างั้น มันสื่อความหมายโดยนัยว่าอะไรหล่ะ
  • 8:21 - 8:24
    ความหมายโดยนัยที่ว่านี้ โบล์ท์สมันได้ทำการศึกษาไว้ตั้งแต่ในศตวรรษที่ 19 แล้วหละครับ
  • 8:24 - 8:27
    เขาบอกว่าแบบนี้ครับ เอ็นโทรปีเพิ่มขึ้น
  • 8:27 - 8:29
    เพราะว่ามีวิธีมากมายหลายหลากกว่า
  • 8:29 - 8:32
    ที่เอกภพจะไปสู่สภาพเอ็นโทรปีสูง แทนที่จะเป็นเอ็นโทรปีต่ำ
  • 8:32 - 8:35
    แต่นี่เป็นข้อเท็จจริงในเชิงความน่าจะเป็นนะครับ
  • 8:35 - 8:37
    อย่างนี้ครับ มีความเป็นไปได้ที่เอ็นโทรปีจะเพิ่มสูงขึ้น
  • 8:37 - 8:39
    และความเป็นไปได้มีอยู่สูงมากๆครับ
  • 8:39 - 8:41
    ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่คุณต้องไปกังวลอะไรกับมันหรอกนะครับ
  • 8:41 - 8:45
    จะมีโอกาสแค่ไหน ที่อากาศในห้องนี้จะไปกระจุกตัวกันที่นึง แล้วทำให้พวกเราขาดอากาศหายใจกันไม่ออก
  • 8:45 - 8:47
    แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยครับ
  • 8:47 - 8:49
    ยกเว้นว่า ห้องนี้ถูกปิดสนิท
  • 8:49 - 8:51
    แล้วขังเราอยู่แต่ในนี้ไปตลอดกาล
  • 8:51 - 8:53
    สิ่งว่านี้อาจเกิดขึ้นได้
  • 8:53 - 8:55
    อะไรก็ตามครับ ที่เป็นไปได้
  • 8:55 - 8:58
    การจัดเรียงโมเลกุลของอากาศในห้องนี้ทุกๆแบบที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้
  • 8:58 - 9:00
    ก็ค่อยๆเกิดขึ้นไปจนครบทุกแบบทุกเหตุการณ์ครับ
  • 9:00 - 9:03
    โบล์ท์สมันก็เลยบอกว่า 'เอางี้สิ ก็เริ่มจากเอกภพ
  • 9:03 - 9:05
    ที่มีความสมดุลในเชิงพลังงานความร้อน'
  • 9:05 - 9:08
    เขาไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับบิ๊กแบง และก็ไม่รู้ด้วยว่าเอกภพมีการขยายตัว
  • 9:08 - 9:11
    เขาคิดแค่ว่าอวกาศและกาลเวลาอธิบายได้ด้วยกฏของนิวตัน (Isaac Newton)
  • 9:11 - 9:13
    ว่าอวกาศและกาลเวลามีความสัมบูรณ์ในตัวเอง และจะเป็นอยู่อย่างนั้นตลอดไป
  • 9:13 - 9:15
    ดังนั้น แนวคิดของเขาในเรื่องเอกภพในธรรมชาติ
  • 9:15 - 9:18
    ก็คือแบบที่มีโมเลกุลอากาศกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอทั่วทุกแห่งทุกหน
  • 9:18 - 9:20
    เป็นทำนองว่า 'อะไรๆก็โมเลกุล' แบบนั้นเลยครับ
  • 9:20 - 9:23
    ถ้าเกิดคุณเป็นโบล์ท์สมัน คุณก็จะรู้ว่า ถ้ารอนานพอ
  • 9:23 - 9:26
    ความผันผวนอย่างไร้แบบแผนของโมเลกุลพวกนี้
  • 9:26 - 9:28
    พอโอกาสอำนวย จะทำให้โมเลกุล
  • 9:28 - 9:30
    จัดเรียงตัวกันในรูปแบบที่เอ็นโทรปีต่ำ
  • 9:30 - 9:32
    ซึ่งถัดต่อไป ว่ากันตามธรรมชาติ
  • 9:32 - 9:34
    มันก็จะขยายตัวกลับไปอยู่ดี
  • 9:34 - 9:36
    ฉะนั้น เอ็นโทรปีก็ไม่จำเป็นต้องเพิ่มขึ้นเสมอ
  • 9:36 - 9:39
    บางครั้งอาจจะเกิดความผันแปรไปสู่สภาพเอ็นโทรปีต่ำ
  • 9:39 - 9:41
    ที่จัดเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบกว่าบ้างก็ได้เหมือนกัน
  • 9:41 - 9:43
    อ่า ถ้าเกิดเป็นแบบนั้นจริง
  • 9:43 - 9:45
    ก็ถือได้ว่า โบล์ท์สมันได้สร้าง
  • 9:45 - 9:47
    แนวคิดสมัยใหม่ที่สมเหตุสมผลมากๆถึง 2 แนวคิดด้วยกัน
  • 9:47 - 9:50
    ซึ่งก็คือ 'พหุภพ' และ 'หลักมานุษยชาติ'
  • 9:50 - 9:52
    เขาบอกว่า ปัญหาของสมดุลความร้อน
  • 9:52 - 9:54
    ก็คือ มันเป็นสภาวะที่มนุษย์อย่างพวกเราไม่สามารถมีีชีวิตอยู่ได้
  • 9:54 - 9:57
    ต้องพึงระลึกไว้อย่างหนึ่งก่อนนะครับว่า สิ่งมีชีวิตต้องพึงพาอาศัยลูกศรแห่งกาลเวลา
  • 9:57 - 9:59
    เราจะไม่สามารถประมวลข้อมูลใดๆ
  • 9:59 - 10:01
    ไม่สามารถมีการสันดาป เดิน หรือแม้แต่พูด
  • 10:01 - 10:03
    ถ้าเราอาศัยอยู่ในสภาวะสมดุลความร้อน
  • 10:03 - 10:05
    หากเราลองจินตนาการถึงเอกภพที่ใหญ่มหึมา
  • 10:05 - 10:07
    ใหญ่มากๆแบบไม่มีขอบเขตสิ้นสุด
  • 10:07 - 10:09
    ในนั้นมีอนุภาคที่วิ่งชนกันอย่างอิสระ
  • 10:09 - 10:12
    บางครั้งก็จะผันแปรนิดๆหน่อยๆ ในสภาพที่เอ็นโทรปีต่ำ
  • 10:12 - 10:14
    แล้วก็คลายตัวกลับมาเป็นเหมือนเก่า
  • 10:14 - 10:16
    แต่บางครั้งก็จะมีการแปรผันกันอย่างยิ่งใหญ่
  • 10:16 - 10:18
    บางครั้งนะครับ ก็จะได้เป็นดาวนพเคราะห์ออกมาเลย
  • 10:18 - 10:20
    หรืออาจจะดาวฤกษ์ หรือไม่ก็เป็นดาราจักรเลยก็มี
  • 10:20 - 10:22
    หรืออาจจะได้เป็นดาราจักรหมื่นล้านอัน
  • 10:22 - 10:24
    โบล์ท์สมันก็เลยสรุปว่า
  • 10:24 - 10:27
    เราอยู่ในเพียงส่วนหนึ่งของพหุภพ
  • 10:27 - 10:30
    เป็นส่วนหนึ่งของแบบแผนอันยิ่งใหญ่ ของความผันผวนของอนุภาค
  • 10:30 - 10:32
    ซึ่งเป็นที่ๆสิิ่งมีชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้
  • 10:32 - 10:34
    (ส่วนที่เราอยู่ในพหุภพ) ซึ่งก็คือส่วนที่มีเอ็นโทรปีต่ำครับ
  • 10:34 - 10:37
    บางที เอกภาพของเราอาจจะเป็นหนึ่งในนั้น (ส่วนเอ็นโทรปีตำ่)
  • 10:37 - 10:39
    ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวก็เป็นได้
  • 10:39 - 10:41
    เอาหล่ะ ที่นี่การบ้านของพวกคุณ
  • 10:41 - 10:43
    ก็คือ ลองคิดดูนะครับว่าทั้งหมดเนี่ยมันหมายความว่ายังไง
  • 10:43 - 10:45
    เคยมีคำพูดที่ติดหูของ คาร์ล ซาแกน (Carl Sagan)
  • 10:45 - 10:47
    เขาบอกว่า "จะทำพายแอ๊ปเปิ้ลได้
  • 10:47 - 10:50
    ขั้นแรกสุดเราตั้งสร้างเอกภพเสียก่อน"
  • 10:50 - 10:52
    ซึ่งจริงๆแล้วที่เขาพูดหน่ะไม่ถูกต้องครับ
  • 10:52 - 10:55
    ถ้าจะเอาตามแบบโบล์ท์สมัน ต้องเป็นแบบนี้ ถ้าคุณจะทำพายแอ๊ปเปิ้ล
  • 10:55 - 10:58
    คุณก็แค่นั่งรอให้อะตอมวิ่งไปมาแบบสุ่มๆ
  • 10:58 - 11:00
    แล้วเดี๋ยวมันก็จะกลายเป็นพายแอ๊ปเปิ้ลให้คุณเอง
  • 11:00 - 11:02
    แถมมันยังจะเกิดขึ้นบ่อยกว่า
  • 11:02 - 11:04
    การที่อะตอมจะวิ่งสุ่มไปสุ่มมา
  • 11:04 - 11:06
    แล้วกลายเป็นสวนแอ๊ปเปิ้ล
  • 11:06 - 11:08
    เป็นน้ำตาล เป็นเตาอบ
  • 11:08 - 11:10
    แล้วค่อยมารวมกันกลายเป็นพายแอ๊ปเปิ้ลให้คุณทีหลัง
  • 11:10 - 11:13
    ดังนั้น สถาณการณ์นี้ได้ทำให้เกิดการคาดการพยากรณ์
  • 11:13 - 11:15
    คำพยากรณ์มีว่าอย่างนี้ครับ
  • 11:15 - 11:18
    ความแปรผันที่ทำให้มีเราอยู่ทุกวันนี้ มันเล็กน้อยเท่านั้นครับ
  • 11:18 - 11:21
    ถึงแม้ว่าคุณจะรู้สึกว่าห้องที่เราอยู่กันตอนนี้เนี่ย
  • 11:21 - 11:23
    มีตัวตนและมีอยู่จริง แล้วพวกเราก็อยู่ที่นี้ด้วย
  • 11:23 - 11:25
    แล้วสิ่งที่เรามีก็ไม่ใช่แค่ความทรงจำเพียงอย่างเดียว
  • 11:25 - 11:27
    แต่เรายังมีเจตคติ ว่าข้างนอกห้องนี้ยังมีอย่างอื่นด้วย
  • 11:27 - 11:31
    เช่นสิ่งที่เรียกว่า สถาบันคาลเทคฯ และ สหรัฐอเมริกา แล้วก็ ดาราจักรทางช้างเผือก
  • 11:31 - 11:34
    เจตคติพวกเนี่ยเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาในสมองเราง่ายกว่า-
  • 11:34 - 11:36
    การที่มันจะเกิดขึ้นจริงๆจากความผันผวนทางฟิสิกส์
  • 11:36 - 11:39
    จนกลายเป็นสถาบันคาลเทคฯ สหรัฐอเมริกา และเป็นดาราจักรแบบนี้ครับ
  • 11:39 - 11:41
    ข่าวดีก็คือว่า
  • 11:41 - 11:44
    ดังนั้นเหตุการณ์นี้ก็เป็นไปไม่ได้ มันไม่ถูกต้องครับ
  • 11:44 - 11:47
    แนวคิดนี้พยากรณ์ว่าพวกเราควรจะเป็นผลพวงของความผันแปรขั้นต่ำ
  • 11:47 - 11:49
    ถึงแม้คุณจะคิดว่า เราไม่มีดาราจักรของเรา
  • 11:49 - 11:51
    คุณก็จะไม่มีทางได้ ดาราจักรอื่นอีกแสนล้านหรอกครับ
  • 11:51 - 11:53
    และ ฟายน์มัน ก็เข้าใจอย่างนี้หมือนกัน
  • 11:53 - 11:57
    ฟายน์มัน บอกว่า "จากสมมติฐานที่ว่าโลกคือผลพวงของความผันแปร
  • 11:57 - 11:59
    ก็จะพยากรณ์ได้ว่า
  • 11:59 - 12:01
    ถ้าเรามองไปตรงส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน
  • 12:01 - 12:03
    เราจะต้องเห็นว่ามันรกเรื้อไปหมด ไม่เหมือนอย่างที่เราเห็นเมื่อตะกี้นี้ซึ่งเป็นสภาวะ
  • 12:03 - 12:05
    เอ็นโทรปีสูง
  • 12:05 - 12:07
    และถ้าความเป็นระเบียบเข้าที่เข้าทาง เกิดจากความผันแปรละก็
  • 12:07 - 12:09
    มันก็ไม่น่าจะมีที่ไหนที่ดูเป็นระเบียบอีกแล้วนอกจากตรงที่เราเพิ่งจะเห็น
  • 12:09 - 12:13
    เพราะอย่างนี้ จึงพอจะสรุปได้ว่า เอกภพไม่ใช่ผลพวงของความแปรผัน"
  • 12:13 - 12:16
    เป็นคำอธิบายที่ดีมากครับ คราวนี้คำถามก็จะกลายเป็นว่าแล้วคำตอบที่ถูกต้องหล่ะคืออะไร
  • 12:16 - 12:18
    ถ้าเอกภพไม่ใช่ผลพวกของความแปรผัน
  • 12:18 - 12:21
    ทำไมเอกภพในยุคต้นๆถึงได้มีเอ็นโทรปีต่ำ
  • 12:21 - 12:24
    ผมอยากจะเฉลยคำตอบนั้นจริงๆครับ แต่เวลาพูดของผมจะหมดแล้วหน่ะสิ
  • 12:24 - 12:26
    (เสียงหัวเราะ)
  • 12:26 - 12:28
    นี่คือเอกภพที่เรานำเสนอให้คุณฟัง
  • 12:28 - 12:30
    เทียบกับเอกภพจริงๆที่เป็นอยู่
  • 12:30 - 12:32
    รูปนี้ ผมเพิ่งนำเสนอไปเมื่อกี้
  • 12:32 - 12:34
    เอกภพมีการขยายตัวตลอดหมื่นล้านปีที่ผ่านมาหรืออะไรทำนองนั้น
  • 12:34 - 12:36
    แล้วมันก็เย็นตัวลง
  • 12:36 - 12:38
    แต่ในปัจจุบัน เรามีความรู้มากพอ เกี่ยวกับอนาคตของเอกภพ
  • 12:38 - 12:40
    ที่จะสามารถอธิบายอะไรได้อีกหลายอย่าง
  • 12:40 - 12:42
    ถ้าพลังงานมืดยังคงมีทั่วไป
  • 12:42 - 12:45
    ดวงฤกษ์ที่อยู่โดยรอบพวกเรา ก็ใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ของพวกมัน เผาไปจนหมดเกลี้ยง
  • 12:45 - 12:47
    แล้วก็จะยุบตัวไปในหลุมดำ
  • 12:47 - 12:49
    เราก็จะอยู่ในเอกภพ
  • 12:49 - 12:51
    ที่ไม่มีอะไรในนั้นเลยนอกจากหลุมดำ
  • 12:51 - 12:55
    เอกภพที่ว่าจะคงอยู่ต่อไปอีกนานเป็น 10 ยกกำลัง 100 ปี
  • 12:55 - 12:57
    นานกว่า ช่วงชีวิตจนถึงปัจจุบัน ของเอกภพเล็กๆของเราเสียอีก
  • 12:57 - 12:59
    อนาคตยังอีกยาวไกลครับเมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมา
  • 12:59 - 13:01
    แต่แม้กระทั่งหลุมดำก็ไม่ได้อยู่ไปตลอดกาล
  • 13:01 - 13:03
    มันจะจางหายไปในที่สุด
  • 13:03 - 13:05
    และเราก็จะถูกทิ้งไว้ในอวกาศที่ความว่างเปล่า
  • 13:05 - 13:09
    ความว่างเปล่านั้น จะเป็นไปชั่วนิจนิรันดร
  • 13:09 - 13:12
    แต่ยังไงก็ตาม คุณทราบแล้วว่า เพราะแม้แต่พื้นที่ว่างๆในอวกาศก็ฉายรังสีออกมา
  • 13:12 - 13:14
    ดังนั้นมันก็มีเกิดความผันแปรของพลังงาน
  • 13:14 - 13:16
    แล้วมันก็กระจายไปรอบๆ
  • 13:16 - 13:18
    ด้วยความน่าจะเป็นทั้งหมดหลายรูปแบบ
  • 13:18 - 13:21
    ตามการเปลี่ยนแปรค่าอย่างอิสระ (degree of freedom) ในอวกาศอันเวิ้งว้างว่างเปล่า
  • 13:21 - 13:23
    เพราะฉะนั้น แม้ว่าเอกภพจะอยู่ไปชั่วนิรันดร์
  • 13:23 - 13:25
    เหตุการณ์ที่มีจำนวนเป็นอันตะ (จำกัด) เท่านั้น
  • 13:25 - 13:27
    ที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ในเอกภพ
  • 13:27 - 13:29
    พวกมันเกิดขึ้นในช่วงเวลา
  • 13:29 - 13:32
    ที่มีค่าประมาณ 10 ยกกำลัง 10 ยกกำลัง 120 ปี
  • 13:32 - 13:34
    อืม..อย่างนั้น ผมก็อยากถามคุณสักสองคำถามครับ
  • 13:34 - 13:37
    คำถามแรก ก็คือ ถ้าหากว่าเอกภพอยู่ไปนานถึง 10 ยกกำลัง 10 ยกกำลัง 120 ปี
  • 13:37 - 13:39
    ทำไม มนุษย์ถึงถือกำเนิด
  • 13:39 - 13:42
    ในช่วงหมื่นสี่พันล้านปีแรกของเอกภพ
  • 13:42 - 13:45
    ซึ่งอบอุ่น สบาย ที่เกิดถัดจากการเกิดบิ๊กแบงกันเลย
  • 13:45 - 13:47
    ทำไมเราถึงไม่ไปเกิดอยู่ในความว่างเปล่าของอวกาศหล่ะครับ
  • 13:47 - 13:49
    คุณอาจจะบอกว่า "อ่ะ ก็มันไม่มีอะไรให้เราใช้ชีิวิตอยู่ได้นิ"
  • 13:49 - 13:51
    พูดอย่างนั้นอาจจะไม่ค่อยถูกต้องนักครับ
  • 13:51 - 13:53
    จู่ๆคุณอาจจะจุติผุดขึ้นมาเฉยๆจากความไม่มีอะไรเลยก็เป็นหนิ
  • 13:53 - 13:55
    ก็แล้วทำไมไม่เป็นอย่างนั้นหล่ะ
  • 13:55 - 13:58
    เอาหล่ะสิ คุณได้การบ้านกลับไปคิดเพิ่มอีกแล้วครับ
  • 13:58 - 14:00
    ก็อย่างที่ผมเคยบอกไปแล้วครับว่า จริงๆผมก็ไม่รู้คำตอบหรอก
  • 14:00 - 14:02
    แต่ผมจะเล่าให้ฟังถึงแนวคิดที่ผมชอบก็แล้วกันครับ
  • 14:02 - 14:05
    อาจจะเป็นว่า เอกภพมันก็เป็นแบบนั้นแหละ ไม่ต้องมีคำอธิบาย
  • 14:05 - 14:07
    มันเป็นความจริง แบบทื่อๆแท้ ของเอกภพ
  • 14:07 - 14:10
    ที่คุณควรที่จะเรียนรู้ ที่จะยอมรับมันซะ แล้วหยุดถามซะที
  • 14:11 - 14:13
    หรือว่า บางที บิ๊กแบง
  • 14:13 - 14:15
    ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของเอกภพก็เป็นได้
  • 14:15 - 14:18
    อย่างไข่ ที่เป็นฟองๆนี่นะครับ ก็มีการจัดเรียงเอ็นโทรปีต่ำ
  • 14:18 - 14:20
    ถึงอย่างนั้น พอเราเปิดตู้เย็น
  • 14:20 - 14:22
    เราก็จะไม่พูดว่า "ฮ่า น่าแปลกใจจังที่เจอ
  • 14:22 - 14:24
    การจัดเรียงรูปแบบเอ็นโทรปีต่ำในตู้เย็นของเราเองด้วย"
  • 14:24 - 14:27
    นั่นก็เพราะว่าไข่ไม่ได้อยู่ในระบบปิดหน่ะสิครับ
  • 14:27 - 14:29
    แต่มันออกมาจากแม่ไก่
  • 14:29 - 14:33
    บางทีเอกภพอาจจะออกมาจากแม่ไก่ของเอกภพอีกทีก็ได้ครับ
  • 14:33 - 14:35
    บางทีอาจจะมีอะไรบางอย่างตามธรรมชาติ
  • 14:35 - 14:38
    ที่อ้างอิงได้ด้วยกฏฟิสิกส์ที่พัฒนาขึ้นทุกวันนี้
  • 14:38 - 14:40
    ก่อให้เกิดเอกภพอย่างเอกภพของเรา
  • 14:40 - 14:42
    ซึ่งอยู่ในสภาวะเอ็นโทรปีต่ำ
  • 14:42 - 14:44
    ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง มันควรเกิดขึ้นมากกว่าครั้งเดียว
  • 14:44 - 14:47
    เราควรจะเป็นส่วนหนึ่งของพหุภพที่ใหญ่มหึมามากกว่านี้
  • 14:47 - 14:49
    อันนี้เป็นแนวคิดที่ผมชอบครับ
  • 14:49 - 14:52
    อ่อ พอดีว่าทางผู้จัดเขาขอให้ผมจบการบรรยายด้วยแนวคิดที่ชัดเจน
  • 14:52 - 14:54
    ผมก็เลยขอฟันธงตรงประเด็นไปเลยว่า
  • 14:54 - 14:57
    ประวัติศาสตร์จะจารึกไว้ว่า (แนวคิดของ)ผมถูกต้องสมบูรณ์
  • 14:57 - 14:59
    และ 50 ปีต่อไปจากนี้
  • 14:59 - 15:02
    แนวความคิดที่บ้าๆของผมทั้งหมดจะได้รับการยอมรับว่าเป็นความจริง
  • 15:02 - 15:05
    ทั้งใน และ นอก วงการวิทยาศาสตร์
  • 15:05 - 15:07
    พวกเราจะเชื่อกันว่าเอกภพเล็กๆของเรา
  • 15:07 - 15:10
    เป็นแค่เพียงส่วนเสี้ยวของพหุภพที่ใหญ่มหึมากว่ามาก
  • 15:10 - 15:13
    และยิ่งไปกว่านั้น เราจะเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นตอนเกิดบิ๊กแบง
  • 15:13 - 15:15
    ในเชิงของทฤษฎี
  • 15:15 - 15:17
    ซึ่งจะสามารถทำให้เราเปรียบเทียบกับการข้อมูลจากการสังเกตได้
  • 15:17 - 15:19
    นี่เป็นเพียงการคาดเดาครับ ผมอาจผิดก็ได้
  • 15:19 - 15:21
    แต่ในฐานะมนุษยชาติ เราก็ครุ่นคิดกันมาโดยตลอด
  • 15:21 - 15:23
    ว่าเอกภพจะรูปร่างหน้าตาเป็นยังไง
  • 15:23 - 15:26
    ทำไมมันถึงเป็นอย่างที่เป็นอยู่แบบนี้มานานนับไม่รู้จะกี่ปี
  • 15:26 - 15:29
    เพียงแค่คิดว่าสักวันนึง เราจะสามารถรู้คำตอบได้ นี่ก็ตื่นเต้นมากแล้วครับ
  • 15:29 - 15:31
    ขอบคุณครับ
  • 15:31 - 15:33
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ชอน คาร์โรลล์ (Sean Carroll): อดีตกาลแห่งกาลเวลาสู่การค้นหา "พหุภพ"
Speaker:
Sean Carroll
Description:

ณ งาน TEDxCaltech ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย ชอน คาร์โรลล์ (Sean Carroll) นักจักรวาลวิทยา ได้ออกมาถกประเด็นคำถามธรรมดาๆที่ไม่ธรรมดาได้อย่างสนุกสนานพร้อมกระตุ้นความคิดผ่านการท่องไปในธรรมชาติของกาลเวลาและเอกภพ คำถามนั้นมีอยู่ว่า ทำไมจึงจะต้องมี 'กาลเวลา' ขึ้นมาด้วย สิ่งที่อาจจะเป็นคำตอบให้กับคำถามนี้ได้นั้นเป็นมุมมองอันแปลกใหม่เกี่ยวกับธรรมชาติของเอกภพและพื้นที่แห่งความเป็นเราในนั้น

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
15:34
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Distant time and the hint of a multiverse
Heartfelt Grace added a translation

Thai subtitles

Revisions Compare revisions